การนำเอา KernPoint มาช่วยพิจารณาว่าจะเกิดแรงเค้นดึงขึ้นในหน้าตัดโครงสร้างหรือไม่

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วที่ผมได้เรียนให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนทราบว่า เพื่อให้เพื่อนๆ ได้มีความเข้าใจในเรื่องของ KERN POINT นี้ที่มากยิ่งขึ้น ผมจะขออนุญาตนำเอาเรื่องที่มาที่ไปของเจ้า KERN POINT นี้มาทำการอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เพื่อนๆ จะได้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถที่จะนำเอาความรู้ในเรื่องๆ นี้ไปต่อยอดและใช้งานได้ด้วยความชำนาญนั่นเองครับ

 

ก่อนอื่นเลยผมต้องขออนุญาตเริ่มต้นทำการอ้างอิงไปที่หน้าตัดของโครงสร้างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีขนาดของความกว้างท่ากับ B และขนาดของความลึกเท่ากับ H ก่อน ซึ่งเราจะทราบดีว่าสำหรับหน้าตัดประเภทนี้จะมีค่าคุณสมบัติต่างๆ ของหน้าตัดอยู่ 2 อย่างด้วยกันนั่นก็คือ พื้นที่ของหน้าตัดหรือว่าค่า Ag และค่าโมดูลัสของหน้าตัดหรือค่า S ซึ่งทั้งสองค่านี้เราจะสามารถทำการคำนวณได้อย่างตรงไปตรงมาได้ดังนี้

 

Ag = B x H

 

และ

 

S = (I) / (H / 2)

 

S= (2 x I) / (H)

 

S = [(2)(B x H)^(3) / (12)] / (H)

 

S= B x H^(2) / (6)

 

หากว่าหน้าตัดของเราจะต้องรับแรงกระทำตามแนวแกนหรือค่า P และแรงดัดหรือค่า M ซึ่งค่าๆ นี้ก็คือเกิดจากการที่แรง P นั้นเกิดการเยื้องศูนย์ออกไปจากแกนสะเทินของหน้าตัด ดังนั้นจากหลักการของการรวมค่าของแรงเค้นเราอาจจะสามารถทำการเขียนความสัมพันธ์ของค่าแรงเค้นที่ขอบนอกสุดของหน้าตัดได้ว่า

 

Fb = – (P) / (Ag) + (M) / (S)

 

Fb = – (P) / (Ag) + (P x e) / (S)

 

จากนั้นหากเราจะทำการกำหนดว่าค่าแรงเค้นที่ขอบนอกสุดของหน้าตัดจะมีค่าน้อยที่สุดเท่ากับศูนย์หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ก่อนที่ค่าความเค้นที่ขอบนอกสุดของหน้าตัดนี้จะกลายเป็นค่าแรงเค้นดึงหรือ TENSILE STRESS และทำการแทนค่าต่างๆ ข้างต้นลงไปก็จะทำให้สามารถเขียนสมการความสัมพันธ์ข้างต้นได้ว่า

 

0 = – (P) / [(B x H)] + (P x e) / [ B x H^(2) / (6)]

 

0 = – (P) / [(B x H)] + (6 x P x e) / [B x H^(2)]

 

0 = – (P) / [(B x H)] x [1 – (6 x e) / (H)]

 

เมื่อค่า Fb ของเรานั้นมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับศูนย์เราก็จะสามารถทำการย้ายข้างตัวค่าสัมประสิทธิ์ที่ติดอยู่กับพจน์การคำนวรภายในวงเล็บหลักได้ ทำให้ในที่สุดก็จะทำให้พจน์การคำนวณข้างต้นนั้นเหลือเพียง

 

0 ≤ 1 – (6 x e) / (H)

 

(6 x e) / H ≤ 1

 

e ≤ H / 6

 

จากผลของการที่ผมนั้นได้ทำการ DERIVE สมการข้างต้น เราก็จะสามารถทำการสรุปได้ว่า หากจะให้ทำการเขียนความสัมพันธ์ของค่า KERN POINT กับค่า e ให้อยู่ในรูปแบบของสมการ ไม่ว่าโมเมนต์ที่กระทำกับหน้าตัดนั้นจะเป็นไปในลักษณะที่หมุนตามเข็มนาฬิกาหรือจะหมุนทวนเข็มนาฬิกาก็ตามแต่ เราก็จะสามารถที่จะทำการเขียนขอบเขตของค่าๆ นี้ให้ออกมาให้มีหน้าตาเป็นดังนี้ครับ

 

-H/6 < e < H/6

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

#โพสต์ของวันพุธ

#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง

#การนำเอาKernPointมาช่วยพิจารณาว่าจะเกิดแรงเค้นดึงขึ้นในหน้าตัดโครงสร้างหรือไม่

#โพสต์ตอนที่3

 

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com