เสาเข็มที่มีคุณภาพ รับประกันกันความปลอดภัยจากการใช้งาน เลือกใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micropile

เสาเข็มที่มีคุณภาพ รับประกันกันความปลอดภัยจากการใช้งาน เลือกใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micropile การก่อสร้างเพื่อต่อเติมอาคารอย่าลืมว่าต้องคำนึงถึงผลกระทบของส่วนโครงสร้างเดิม เพราะถ้าวางแผนอย่างไม่ถูกต้องแทนที่่จะได้ต่อเติมกลับต้องมานั่งซ่อมแซมโครงสร้างเดิม เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย ดังนั้นเพื่อไม่ให้การต่อเติมอาคารมีผลกระทบต่อการใช้งานในระยะยาว ควรจะให้ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรเป็นผู้ออกแบบวางแผนการต่อเติม เพื่อป้องกันการทรุดตัวของโครงสร้างในอนาคต ทั้งนี้เสาเข็มที่เลือกใช้ควรมีเครื่องหมายมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถรับน้ำหนักของโครงสร้างทั้งหมดได้เป็นอย่างดี ภูมิสยามขอแนะนำ “เสาเข็มสปันไมโครไพล์” เสาเข็มมีลักษณะเป็นรูกลมกลวงตรงกลางเพื่อการระบายดิน และมีโครงเหล็กฝังอยู่ในเนื้อคนกรีตโดยรอบ … Read More

ถ้าฐานรากไม่มั่นคงแข็งแรง จะส่งผลอย่างไรกับโครงสร้าง

ถ้าฐานรากไม่มั่นคงแข็งแรง จะส่งผลอย่างไรกับโครงสร้าง การก่อสร้างในประเทศไทยเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตควบคู่ไปกับเศรษฐกิจ กล่าวคือหากเศรษฐกิจดี บริษัทมีกำไรก็จะนำมาพัฒนาองค์กรให้ใหญ่ขึ้น มีการก่อสร้าง ต่อเติม ขยายกิจการเพิ่มขึ้น ในการต่อเติมโครงสร้างเพื่อให้ฐานรากที่มีประสิทธิภาพที่ดี ลดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าของโครงสร้างหรือเกิดปัญหาผู้รับเหมาละทิ้งงานได้ หากไม่อยากให้เกิดปัญหานี้ตามมา ควรเลือกเสาเข็มที่สามารถเป็นฐานรากที่มั่นคงได้ ไม่เกิดปัญหาระหว่างการตอก สามารถรองรับน้ำหนักของโครงสร้างทั้งหมดได้ ไม่เกิดการทรุดตัว และมีการทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test … Read More

บ้านทรุดตัว บ้านแตกร้าว แก้ปัญอย่างไร

บ้านทรุดตัว บ้านแตกร้าว แก้ปัญหาอย่างไร ปัญหาบ้านทรุดตัวเกิดจากอะไร? ปัญหานี้เกิดได้หลายสาเหตุ โดยปัจจัยหลัก ๆ มักมาจากเสาเข็มและการเคลื่อนตัวของพื้นดิน ขอเรียนว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะพบเห็นกรณีนี้มาอย่างต่อเนื่องยิ่งในช่วงฤดูฝน บ้านเรือนส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นมาโดยลงเสาเข็มไม่ลึก ก็จะเกิดปัญหาบ้านทรุดตัวลง เพราะการตอกเสาเข็มลงไปไม่ถึงชั้นดินที่แข็งแรงพอ ส่วนใหญ่มักเกิดจากกรณีที่ไม่เจาะสำรวดพื้นดิน หรือเกิดจากการการควบคุมการก่อสร้างเสาเข็มที่ไม่ได้มาตรฐาน เมื่อปลายของเสาเข็มไม่ถึงชั้นดินที่แข็งแรง หลังจากการก่อสร้างบ้านเสร็จ หากเสาเข็มรับน้ำหนักไม่ได้ทำให้บ้านเกิดการทรุดตัวลงอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาสั้น ๆ หลังก่อสร้างเสร็จ … Read More

โครงสร้างภายในของเสาเข็มเพื่อการต่อเติม สปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE)

โครงสร้างภายในของเสาเข็มเพื่อการต่อเติม สปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE)         ลักษณะของเสาเข็มเพื่อการต่อเติม Spun Micro Pile มีลักษณะกลม กลวงจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอก ถึงแม้ว่าจะตอกเสาเข็มใช้ความยาวมาก ก็สามารถลดแรงดันของดินในขณะตอกได้ โดยดินจะขึ้นทางรูกลวงของเสาเข็ม ซึ่งจะช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่อโครงสร้าง หรืออาคารข้างเคียงได้เป็นอย่างมากและยังช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน สามารถทำงานในที่แคบได้ เข้าซอยแคบเหมาะกับในเมือง ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน … Read More

เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE)

เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE)   เสาเข็มไมโครไพล์เสาเข็มเพื่อการต่อเติม Micro Pile และ Spun Micro Pile เป็นเสาเข็มสำหรับติดตั้ง ต่อเติมอาคาร บ้านเรือนต่างๆ ให้เป็นไปตามที่คุณต้องการ หากคุณเลือกใช้งานสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน รับประกันความปลอดภัยจากการใช้งาน ไม่ว่าเวลาผ่านไปนานแค่ไหน … Read More

ค่า PARAMETER ที่เราจะได้จากคำนวณจากข้อมูลของดิน

BSP ภูมิสยาม ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์ micropile เสาเข็มต่อเติม ตอกเสาเข็ม สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ วันนี้ผมจะมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังถึงเรื่องสมการในการคำนวณหาค่า นน บรรทุกของเสาเข็ม ซึ่งสุดท้ายค่า PARAMETER ที่เราจะได้จากคำนวณจากข้อมูลของดินอย่างที่ผมได้เคยเล่าให้เพื่อนๆ ฟังก่อนหน้านี้ ก็จะถูกนำมาคำนวณในสมการเหล่านี้นั่นเองครับ เรามาดูกันก่อนนะครับว่าตัวย่อของค่าต่างๆ ที่จะถูกนำไปแทนค่าในสมการต่างๆ … Read More

การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (DYNAMIC LOAD TEST)

สวัสดีครับมาเจอกับ Mr.Spunman กันอีกเช่นเคย วันนี้เราจะมาคุยกันถึง การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ หรือ Dynamic Load Test กันนะครับ การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test) เป็นที่ยอมรับทั่วไปและมีมาตรฐานรองรับ ได้แก่ ASTM D4945-96 นอกจากนั้น การทดสอบดังกล่าวมีข้อดีหลายประการ เช่น สามารถทำการทดสอบได้ภายในระยะเวลาสั้น … Read More

ในงานตอกเสาเข็ม LAST 10 BLOW COUNT ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจเป็นอันดับแรก

โดยปกติถ้าเป็นดินที่อยู่แถวกรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นดินอ่อน การจะตอกเสาเข็มให้ลึกจนถึงชั้นดินแข็งได้ก็จะต้องตอกให้ลึกประมาณ 21 เมตร หากใช้เสาเข็มแบบสปันไมโครไพล์ก็จะต้องใช้เสาเข็ม 14 ท่อนในการตอก 1 ต้น แต่เนื่องจากว่าหน้าดินของแต่ละที่ไม่เหมือนกันดังนั้นจึงต้องหาวิธีที่เป็นมาตรฐานในการทดสอบว่าเสาเข็มที่ตอกไปลงลึกจนถึงระดับที่จะสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ วิธีที่นิยมใช้ก็คือการนับโบว์เคาท์ Last 10 Blow Count หมายถึงระยะจมของเสาเข็มในการทดสอบด้วยการตอก 10 ครั้ง ซึ่งจะต้องมีค่าไม่เกินกว่าที่คำนวณได้จึงจะผ่านเกณฑ์ … Read More

ลักษณะของปั้นจั่นสำหรับตอกเสาเข็มเพื่อการต่อเติม สปันไมโครไพล์

ลักษณะของปั้นจั่นสำหรับตอกเสาเข็มเพื่อการต่อเติม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) ของ ภูมิสยามซัพพลาย นั้นมีความยาวแนวราบ 3 เมตร  และมีความสูง 3 เมตร ส่วนของความกว้างของปั่นจั่นมีความกว้างเพียงแค่ 1 เมตรเท่านั้น จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะเข้าทำงานในพื้นที่จำกัดได้โดยสะดวก ความยาวในแนวราบ 3 m ความสูง 3 m ความกว้าง 1 m ลูกตุ้มมีน้ำหนัก … Read More

จะสร้างบ้านทั้งที ควรตอกเสาเข็มให้ลึกเท่าไหร่ บ้านถึงจะไม่ทรุด

ความสำคัญของเสาเข็ม เสาเข็มเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของโครงสร้างบ้าน เป็นส่วนประกอบของฐานรากซึ่งจะฝังตัวอยู่ในดินเพื่อทำหน้าที่รองรับน้ำหนักบ้านทั้งหลัง หากว่าเราสร้างบ้านแล้วไม่ได้ลงเสาเข็มไว้ น้ำหนักของตัวบ้านก็จะกดทับผิวดินด้านบนให้ค่อยทรุดตัวลงทีละนิดจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างบ้านได้ เสาเข็มช่วยแก้ปัญหาบ้านทรุดได้ยังไง เสาเข็มรับน้ำหนักได้อย่างไร? เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักที่กดทับได้ด้วยแรง 2 ชนิดหลักๆ คือ แรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็ม (Skin Friction) คือแรงต้านที่เกิดจากแรงเสียดทานระหว่างผิวของเสาเข็มกับดินโดยรอบ ซึ่งแรงที่เกิดขึ้นนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของดินและลักษณะของเสาเข็มแต่ละประเภท แรงต้านที่ปลายเสาเข็ม (End Bearing) คือแรงต้านที่เกิดขึ้นบริเวณปลายเสาเข็ม … Read More

1 2