ระหว่าง FORCE METHOD กับ DISPLACEMENT METHOD แล้ววิธีการใดจะน่าสนใจและหากเรียนรู้แล้วจะได้ประโยชน์มากกว่ากัน

ระหว่าง FORCE METHOD กับ DISPLACEMENT METHOD แล้ววิธีการใดจะน่าสนใจและหากเรียนรู้แล้วจะได้ประโยชน์มากกว่ากัน

เสาเข็ม ไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์ Spun MicroPile

เราสามารถที่จะทำการเปรียบเทียบวิธีการวิเคราะห์โครงสร้างระหว่าง FORCE METHOD และ DISPLACEMENT METHOD ได้จาก

(1) ตัวแปรตั้งต้นที่เราไม่ทราบค่า
(2) สมการที่ใช้ในการหาค่าตัวแปรตั้งต้นนั้นๆ

หากเราพูดถึง FORCE METHOD เราจะใช้ แรง (FORCE) เป็นตัวแปรที่ไม่ทราบค่า และใช้ สมการความสอดคล้อง (COMPATIBILITY EQUATIONS) และ ความสัมพันธ์ของแรงและการเสียรูป (FORCE-DISPLACEMENT RELATIONSHIP) มาช่วยในการหาค่าของตัวแปรที่เราไม่ทราบค่า

สำหรับ DISPLACEMENT METHOD เราจะใช้ การเสียรูปของโครงสร้าง (DISPLACEMENT) เป็นตัวแปรที่ไม่ทราบค่า และ ใช้สมการความสมดุล (EQUILIBRIUM EQUATIONS) และ ความสัมพันธ์ของแรงและการเสียรูป (FORCE-DISPLACEMENT RELATIONSHIP) มาช่วยในการหาค่าของตัวแปรที่เราไม่ทราบค่า

อย่างไรก็ตามนะครับ วิธีการวิเคราะห์โครงสร้างทั้งสองนี้จะมี ข้อดี และ ข้อเสีย ในการใช้งานที่ค่อนข้างจะมีความแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ลักษณะรูปร่าง และ การยึดรั้ง ของโครงสร้าง เช่น คานดังที่แสดงในรูป (a) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มี DI (DEGREE OF INDETERMINACY) เท่ากับ 3 และ เป็นโครงสร้างที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งที่เราไม่ทราบค่า หรือ DOF (DEGREE OF FREEDOM) เท่ากับ 1 ดังนั้นถ้าเราใช้ FORCE METHOD ในการแก้ปัญหาข้อนี้ เราจะต้องทำการแก้สมการหาค่าแรงที่ไม่ทราบค่าทั้งหมดมากถึง 3 ตัว แต่ ถ้าเราใช้ DISPLACEMENT METHOD ในการวิเคราะห์ปัญหาข้อนี้ เราจะแก้สมการหาค่า DOF เพียง 1 ตัวเพียงเท่านั้นครับ ดังนั้นหากเราพูดถึงเฉพาะในขั้นตอนของการคำนวณแล้ว ยิ่งเรามีการคำนวณที่สั้นและง่ายมากเท่าใดก็จะยิ่งดีมากเท่านั้น เพราะ การคำนวณอะไรที่ยาวๆ และค่อนข้างที่จะมีความละเอียดซับซ้อนโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดขึ้นในขั้นตอนของการคำนวณก็จะยิ่งสูงมากขึ้นตามไปด้วยนั่นเองครับ และ ในทางกลับกันถ้าหากว่าจุดรองรับ A นั้นเปลี่ยนไปเป็นปลายอิสระดังที่แสดงในรูปที่ (b) แล้ว คานดังกล่าวจะกลายเป็นโครงสร้างที่มี DI เท่ากับ 1 และจะมี DOF เท่ากับ 3 ซึ่งจะทำให้การวิเคราะห์ปัญหาข้อนี้โดย FORCE METHOD นั้นได้เปรียบ DISPLACEMENT METHOD เป็นต้นนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1520155621363891

BSP-Bhumisiam

ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449