ระบบโครงแกงแนง หรือ BRACED FRAME SYSTEM

ระบบโครงแกงแนง หรือ BRACED FRAME SYSTEM

เสาเข็ม ไมโครไพล์ Micropile สปันไมโครไพล์ Spun MicroPile

โดยระบบๆ นี้ก็คือ การนำเจ้าโครงแกงแนง หรือ โครงค้ำยัน หรือ ที่เรานิยมเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า BRACING นั้นมาช่วยในการค้ำยันตัวโครงสร้างเพื่อให้โครงสร้างของเรานั้นมี ความแข็งแรง และ มีเสถียรภาพ ที่สูงยิ่งขึ้น

ดังนั้นเราสามารถนำระบบ BRACING นี้ไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายๆ ระบบ FRAME ของอาคารเลยนะครับ ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่ระบบ FRAME นี้มีเจ้า BRACING นี้ใส่เข้าไปเมื่อใด เราก็มักที่จะนิยามลักษณะของโครงสร้างนั้นๆ ว่าเป็นระบบ BRACED FRAME SYSTEM นะครับ โดยข้อดีประการหนึ่งของระบบๆ นี้ คือ เราสามารถที่จะประยุกต์ใช้เจ้า BRACING นี้เข้าไปใช้ในโครงสร้างที่ทำขึ้นจาก คสล หรือ เหล็ก ก็ได้นะครับ

จุดประสงค์ในการใส่เจ้าตัว BRACING นี้เข้าไปในโครงสร้าง FRAME ก็เพื่อ

(A) ลดการเสียรูปทางด้านข้าง (HORIZONTAL DISPLACEMENT) ของโครงสร้างอันเนื่องมาจากแรงกระทำทางด้านข้าง (HORIZONTAL FORCE) เช่น แรงลม (WIND LOAD) หรือ แรงแผ่นดินไหว (SEISMIC LOAD) เป็นต้น ที่อาจมีโอกาสจะเกิดขึ้นในอาคารที่เราทำการออกแบบ

(ดูรูปที่แนบมาประกอบคำอธิบายได้นะครับ)

(B) เป้าหมายในการสร้างกลไกการสลายพลังงาน (ENERGY DISSIPATION) จากการเกิดแรงกระทำจากแผ่นดินไหวให้เกิดขึ้นในตัวของโครงสร้างนั่นเองครับ

(หากมีเวลา และ โอกาสหน้านั้นอำนวย ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายรายละเอียดเรื่องนี้เพิ่มเติมอีกครั้งละกันนะครับ)

เราสามารถที่จะจำแนก ชนิด และ ประเภท ของโครงแกงแนงออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

(1) CONCENTRIC BRACED FRAME
(2) ECCENTRIC BRACED FRAME

โดยที่ CONCENTRIC BRACED FRAME ก็คือ BRACED FRAME ที่มีการค้ำยันแบบตรงแนวศูนย์ของชิ้นส่วนโครงสร้าง เช่น การค้ำยันแบบ INVERTED V BRACED การค้ำยันแบบ CONCENTRIC X หรือ CROSS BRACED การค้ำยันแบบ CONCENTRIC DIAGONAL BRACED เป็นต้น

สำหรับเจ้า ECCENTRIC BRACED FRAME ก็คือ BRACED FRAME ที่มีค้ำยันแบบไม่ตรงแนวศูนย์ของชิ้นส่วนโครงสร้าง เช่น การค้ำยันแบบ INVERTED U BRACED การค้ำยันแบบ ECCENTRIC X หรือ CROSS BRACED การค้ำยันแบบ ECCENTRIC DIAGONAL BRACED เป็นต้น

โดยที่เจ้า ECCENTRIC BRACED FRAME นี้เรามักจะพบว่าจะมีอีก 1 ชิ้นส่วนโครงสร้างที่เพิ่มเติมขึ้นก็คือ STRUCTURAL FUSE REGION ซึ่งชิ้นส่วนนี้เองครับ คือ กลไกสำคัญที่จะทำให้เกิดการ DISSIPATE พลังงานอันเนื่องมาจากแรงกระทำทางด้านข้างจากแผ่นดินไหวให้แก่โครงสร้างของเรานะครับ

ในวันนี้ผมได้ปูพื้นฐานแก่เพื่อนๆ ให้ได้เข้าใจกันพอสังเขปถึงเรื่องระบบโครงสร้างโครงแกงแนง หรือ BRACED FRAME กันไปบ้างแล้วนะครับ ในวันพรู่งนี้ผมจะขออนุญาตมาตอบคำถามของน้องวิศวกรท่านที่ฝากคำถามมายังผมก่อนหน้านี้ พร้อมกับการ ยก ตย ถึงเรื่องการใช้งานเจ้าโครงแกงแนงนี้ในการทำงานจริงๆ กันบ้างนะครับ เพื่อนๆ ท่านใดสนใจก็สามารถที่จะติดตามกันได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1456120377767416:0

BSP-Bhumisiam

ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน 397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449