เมื่อเสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์ไปแล้ว ตัวโครงสร้างของเสาเข็มของเราจะเกิดการวิบัติเลยหรือไม่ ?
สาเหตุที่ผมนำปัญหาข้อนี้มาตอบเพราะผมค่อนข้างที่จะเข้าใจผู้ถามดีนะครับว่ามีความวิตกกังวลประการใดอยู่ในใจ และ ผมถือว่าคำถามๆ นี้เป็นคำถามที่น่าสนใจด้วยครับ จึงเลือกนำมาตอบในวันนี้นะครับ โดยที่ผมอยากที่จะขออนุญาตทำการตอบเพื่อนวิศวกรท่านนี้ดังนี้นะครับ
เมื่อใดที่เราทำการตรวจสอบแล้วพบว่าพจน์ที่เป็นตัวหารในสมการหาค่าแรงปฏิกิริยาในเสาเข็มกรณีที่เสาเข็มไม่มีคุณสมบัติทางด้านความสมมาตรออกมามีค่าเท่ากับ ศูนย์ หรือ
Ix Iy – Ixy^(2) = 0
ซึ่งการที่ผลการคำนวณในพจน์ๆ ออกมาเป็นเช่นนี้ก็จะเป็นการบ่งบอกกับเราว่า เสาเข็มจะไม่มีเสถียรภาพเพียงพอต่อการใช้งาน แต่ นั่นมิได้หมายความว่าตัวเสาเข็มจะวิบัตินะครับ
สิ่งที่จะบ่งบอกจากการที่พจน์ตัวหารนี้ออกมามีค่าเท่ากับ ศูนย์ คือ ตัวโครงสร้างฐานรากจะไม่ทำการถ่ายแรงกระทำเป็น แรงตามแนวแกน (AXIAL LOAD) ลงไปยังตัวเสาเข็ม แต่ ตัวโครงสร้างของฐานรากจะทำการถ่ายแรงกระทำเป็น แรงดัด (FLEXURAL FORCE) ลงไปยังตัวเสาเข็มแทนนั่นเองครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ เจอเหตุการณ์แบบนี้ ผมอยากที่จะขอแนะนำว่า อย่าเพิ่งตกใจหรือทำการใดๆ ที่เป็นการบุ่มบ่ามจนเกินไปครับ ให้เราลองนำคุณสมบัติต่างๆ ของเสาเข็ม เช่น หน้าตัดคอนกรีต (CONCRETE CROSS SECTION) หน้าตัดลวดอัดแรง (PC WIRES) หรือ หากว่ามี เราก็อาจนำค่าหน้าตัดเหล็กเสริมพิเศษ (SPECIAL REBARS) เป็นต้น มาทำการคำนวณหาค่า NOMINAL FLEXURAL STRENGTH ของเสาเข็มดูก่อนนะครับ เพราะ หากคำนวณค่าๆ นี้แล้วผลออกมาว่ามีค่ามากกว่าค่า FLEXURAL FORCE ที่เสาเข็มจะต้องรับแล้วละก็ เราจะได้สามารถทำการตัดประเด็นความไม่สบายใจในจุดๆ นี้ทิ้งไปได้เลยครับ
หมายเหตุ ค่า NOMINAL FLEXURAL STRENGTH นี้เป็นค่าที่เราคำนวณได้จากทฤษฎีประลัย (ULTIMATE STESS METHOD) หรือ วิธีกำลัง (STRENGTH METHOD) นะครับ ดังนั้นในการนำค่าๆ นี้ไปทำการเปรียบเทียบกันกับค่า FLEXURAL FORCE ที่เกิดขึ้นจริงๆ เพื่อนๆ ก็อย่าลืมที่จะทำการคูณค่าแรงดัดในสภาวะการใช้งานด้วยตัวคูณเพิ่มค่า นน บรรทุก หรือ LOAD FACTOR ให้กับค่าๆ นี้เสียก่อนเสมอนะครับ มิเช่นนั้นจะถือว่าทั้ง 2 ค่านี้จะไม่สามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกันได้ครับ
เอาเป็นว่าในตอนท้ายนี้ผมขอสรุปไว้สั้นๆ ดังนี้นะครับ ปัญหาทางด้านงานโครงสร้างของฐานรากนั้นมีด้วยกันมากมายหลากหลายเหตุและผลนะครับ บางปัญหาอาจจะเกิดจากความไม่ตั้งใจในการทำงาน บางปัญหาอาจจะเกิดจากความไม่แน่นอนของตัววัสดุที่ใช้ทำการก่อสร้างเสาเข็ม บางปัญหาเองก็อาจจะเกิดจากตัวโครงสร้างของชั้นดินเองนะครับ ดังนั้นไม่ว่าปัญหาจะเกิดจากอะไรก็ตามแต่ ขอให้เราเหล่าวิศวกรนั้นใช้สติ คิด และ วิเคราะห์ ถึงสาเหตุของปัญหา ทั้งนี้ก็เพื่อที่เราจะได้สามารถทำการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุดให้มากที่สุดนั่นเองครับ ยังไงผมก็ขออำนวยพรให้แก่เพื่อนๆ นักออกแบบนั้นประสบแต่ความสำเร็จในการออกแบบแก้ไขงานโครงสร้างฐานรากที่อาศัยระบบเสาเข็มในการก่อสร้างกันทุกๆ ท่านนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1503604039685716
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
2) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand
รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449