“ฝากคำถาม-เราจะมาตอบให้” แรงเฉือนโดยตรง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันศุกร์ (แห่งชาติ) แบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะได้มาพูดคุยและเสวนากันถึงหัวข้อ “ฝากคำถาม-เราจะมาตอบให้” นะครับ

อย่างที่ผมได้รับปากกับเพื่อนๆ ไว้เมื่อในสัปดาห์ก่อนหน้านี้แล้วว่าวันนี้ผมจะมาทำการอธิบายถึงเรื่องวิธีในการคำนวณออกแบบเหล็กเสริมเพื่อใช้ในการต้านทานแรงเฉือนเสียดทานตามที่มาตรฐานการออกแบบได้ทำการระบุเอาไว้ ซึ่งผมก็จะขออ้างอิงไปที่มาตรฐานการออกแบบ EIT-10104-58 และ ACI318 เป็นหลักนะครับ

ก่อนอื่นเรามาดูหน้าตาของสมการที่ใช้ในการคำนวณหาพื้นที่หน้าตัดของเหล็กเสริมที่ใช้ในการต้านทานแรงเฉือนเสียดทานที่มาตรฐานการออกแบบได้กำหนดให้ใช้กันก่อน ซึ่งก็จะได้จากการย้ายข้างเพื่อเป็นการแก้สมการEQ.(7) ในการโพสต์ครั้งที่แล้วและก็ทำการเปลี่ยนตัวแปรจากค่า Vn เป็นค่า Vu/Ø ก็คือ
Av=Vu/[Ø×fy×[cos(θf)+sin(θf)×μ]

ทั้งนี้เหล็กเสริมซึ่งจะทำหน้าที่ต้านทานแรงเฉือนเสียดทานในสมการช้างต้นนี้จะทำมุมเอียงกับระนาบที่เกิดแรงเฉือนเป็นมุมเท่ากับ θf ส่วนค่า fy ก็คือ ค่ากำลังรับแรงดึงที่จุดครากของตัวเหล็กเสริมเอง ซึ่งมาตรฐานการออกแบบก็ได้ทำการกำหนดเอาไว้ว่าจะต้องมีค่าไม่เกิน 4000 KSC ด้วยนะครับ

สำหรับค่า μ ก็คือ ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน ซึ่งจะเป็นค่าที่ขึ้นอยู่กับสองพารามิเตอร์ด้วยกันนั่นก็คือ ค่า λ ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 1.00 สำหรับกรณีที่เป็นคอนกรีตน้ำหนักธรรมดา และ ประเภทของการใช้งานคอนกรีตในงานวิศวกรรมโครงสร้างของเรา โดยที่จะมีรายละเอียดดังรูปที่ผมได้แนบเอาไว้ในโพสต์ๆ นี้นะครับ

ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมเรื่องขนาดมิติของโครงสร้างและยังเป็นการช่วยจำกัดมิให้ปริมาณเหล็กเสริมที่ใช้นั้นมีปริมาณที่มากจนเกินไป ในมาตรฐานการออกแบบยังได้ระบุเอาไว้ด้วยว่า ค่ากำลังต้านทานแรงเฉือนเสียดทานสูงสุด หรือ Vn,max จะต้องมีค่าไม่เกิน
Vn,max≤0.20×fc’×Ac≤56 KSC

อีกทั้งยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีก 2-3 ประการมาตรฐานการออกแบบยังได้ระบุเอาไว้ด้วย เช่น ต้องคอยควบคุมให้การจัดเหล็กเสริมที่ใช้ในการต้านทานแรงเฉือนเสียดทานนี้กระจายตัวอยู่ในระนาบของแรงเฉือนให้ทั่วถึง หรือ ต้องทำการทำให้ระยะของการฝังยึดของเหล็กเสริมนั้นดีเพียงพอ ซึ่งก็จะส่งผลทำให้ค่าหน่วยแรงเค้นดึงของเหล็กเสริมนั้นสามารถที่จะพัฒนาไปเป็นค่าหน่วยแรงเค้นดึงที่จุดครากได้ หรือ เมื่อระนาบในการรับแรงเฉือนของเราต้องรับแรงดึงร่วมด้วย เราจะต้องพิจารณาทำการกำหนดให้เหล็กเสริมนี้มีปริมาณที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วย เป็นต้นนะครับ

เอาเป็นว่าในครั้งต่อไปที่เราจะมาพบกัน ผมก็จะขออนุญาตมาทำการยกตัวอย่างการออกแบบโครงสร้างแป้นหูช้าง คสล หรือ RC CORBEL ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนได้รับทราบและทำความเข้าใจถึงวิธีในการคำนวณออกแบบเหล็กเสริมเพื่อใช้ในการต้านทานแรงเฉือนเสียดทานให้ดียิ่งขึ้น หากเพื่อนๆ ท่านใดที่อาจจะมีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามรับชมและอ่านบทความนี้ของผมได้ในโพสต์ของได้ในสัปดาห์หน้านะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันศุกร์
#ฝากคำถามแล้วเราจะมาตอบให้
#แรงเฉือนโดยตรง
#4
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) 

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 
☎️ 082-790-1448 
☎️ 082-790-1449 
☎️ 091-9478-945 
☎️ 091-8954-269 
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam