การต่อเติมโครงสร้างหลังคากันสาด

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ

 

โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ

จากรูปที่แสดงจะเห็นได้ว่าเป็นกรณีของรูปที่แสดงด้านริมนอกสุดของตัวอาคาร โดยที่เงื่อนไขในการก่อสร้างตัวอาคารเดิมก็คือ ในโครงการก่อสร้างแห่งนี้ไม่ได้มีการดำเนินการทดสอบดินเพื่อที่จะหาคุณสมบัติต่างๆ ของดินเอาไว้เลยแต่ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องที่ดีว่า อาคารเดิมหลังนี้ได้มีการก่อสร้างขึ้นโดยที่ใช้โครงสร้างเสาเข็มยาว ทั้งนี้อาคารหลังนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาเป็นระยะเวลาประมาณ 15 ปี แล้วและในปัจจุบันแบบก่อสร้างที่เคยมีก็ได้สูญหายไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วด้วยครับ

 

ต่อมาทางเจ้าของอาคารก็มีความตั้งใจว่าอยากจะทำการก่อสร้างโครงสร้างหลังคากันสาดในบริเวณดังกล่าวนี้ หากสมมติว่าเพื่อนๆ เป็นวิศวกรผู้ออกแบบในโครงการกอสร้างแห่งนี้ เพื่อนๆ จะมีความคิดว่าควรที่จะเลือกระหว่างกรณีใด ที่จะถือว่าเป็นการดีที่สุดในการก่อสร้างโครงสร้างหลังคากันสาด โดยมีตัวเลือกระหว่าง

 

CASE 1 คือ การนำเอาโครงสร้างหลังคากันสาดเข้าไปยึดกันกับตัวอาคารโดยตรงเลย โดยที่ไม่มีการตั้งโครงสร้างเสาและโครงสร้างฐานรากเพื่อที่จะใช้รองรับน้ำหนักของตัวโครงสร้างหลังคากันสาดเลย ซึ่งการทำเช่นนี้จะเป็นการทำให้โครงสร้างของอาคารเดิมต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของตัวโครงสร้างหลังคากันสาด

 

CASE 2 คือ การนำเอาโครงสร้างหลังคากันสาดเข้าไปยึดกันกับตัวอาคารและก็ทำการตั้งโครงสร้างเสาและโครงสร้างฐานรากที่ใช้เป็นโครงสร้างเสาเข็มสั้นเพื่อที่จะใช้รองรับน้ำหนักของตัวโครงสร้างหลังคากันสาดด้วย ซึ่งการทำเช่นนี้จะเป็นการทำให้โครงสร้างของอาคารเดิมและเสาใหม่นั้นช่วยกันทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของตัวโครงสร้างหลังคากันสาด

 

CASE 3 คือ ไม่ทำการนำเอาโครงสร้างหลังคากันสาดเข้าไปยึดกันกับตัวอาคารแต่จะทำการตั้งโครงสร้างเสาและโครงสร้างฐานรากที่ใช้เป็นโครงสร้างเสาเข็มสั้นเพื่อที่จะใช้รองรับน้ำหนักของตัวโครงสร้างหลังคากันสาด โดยที่จะมีการใช้งานแผ่น FLASHING เพื่อให้ทำหน้าที่ปกปิดรอยต่อระหว่างอาคารเดิมกับโครงสร้างหลังคากันสาด ซึ่งการทำเช่นนี้จะเป็นการแยกส่วนระหว่างโครงสร้างของอาคารเดิมกับส่วนโครงสร้างหลังคากันสาดให้ขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง

#โพสต์ของวันเสาร์

#ถามตอบชวนสนุก

#ปัญหากรณีของการต่อเติมโครงสร้างหลังคากันสาด

 

 

คำตอบ

เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นเรามาค่อยๆ ทำการคำนวณง่ายๆ เพื่อหาคำตอบของคำถามในข้อนี้ไปพร้อมๆ กันเลยก็แล้วกันนะครับ

(1) เริ่มจากกรณีของ CASE ที่ 1 ก่อน ซึ่งการทำเช่นนี้จะเป็นการทำให้โครงสร้างของอาคารเดิมต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของตัวโครงสร้างหลังคากันสาดและในเมื่อแบบก่อสร้างของอาคารเดิมที่เคยมีนั้นได้สูญหายไปแล้ว ดังนั้นนี่จึงเป็นการคาดหวังว่า โครงสร้างของอาคารเดิมนั้นจะมีความแข็งแรงที่มากเพียงพอ หากจะมองในกรณีที่มีความรุนแรงมากที่สุดก็คือ จะมีโอกาสสูงมากที่โครงสร้างเดิมของอาคารนั้นจะเกิดการวิบัติเพราะว่าไม่สามารถที่จะรองรับน้ำหนักบรรทุกของโครงสร้างหลังคากันสาดที่ทำการก่อสร้างใหม่ได้ ดังนั้นดูแล้วข้อนี้จึงไม่น่าที่จะเป็นทางเลือกที่ดีนัก

 

(2) มาต่อกันที่กรณีของ CASE ที่ 2 ซึ่งจากกรณีนี้ก็จะเป็นการทำให้โครงสร้างของอาคารเดิมและเสาใหม่นั้นช่วยกันทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดของตัวโครงสร้างหลังคากันสาดแต่หากสังเกตดูดีๆ ก็จะพบว่ากรณีนี้ก็จะมีความเหมือนกันกับกรณีตัวอย่างที่ผมได้นำเอามาแสดงให้เพื่อนๆ ได้ดูกันเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาเพราะว่าอาคารเดิมนั้นมีการก่อสร้างโดยใช้โครงสร้างเสาเข็มยาว ส่วนโครงสร้างหลังคากันสาดนั้นกลับต่อเติมโดยใช้เป็นโครงสร้างเสาเข็มสั้น จึงมีโอกาสสูงมากๆ เลยที่จะทำให้เกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันขึ้นหรือที่พวกเรานิยมเรียกพฤติกรรมนี้ในภาษาอังกฤษว่า DIFFERENTIAL SETTLEMENT ดังนั้นพอพิจารณาดูแล้วข้อนี้ก็ยังไม่น่าที่จะเป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน

 

(3) มาพิจารณากันถึงกรณีสุดท้ายนั่นก็คือ CASE ที่ 3 ซึ่งการทำเช่นนี้จะเป็นการแยกส่วนระหว่างโครงสร้างของอาคารเดิมกับส่วนโครงสร้างหลังคากันสาดให้ขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง หากว่าโครงสร้างเสาเข็มสั้นที่ใช้นั้นมีความสามารถในการต้านทานการทรุดตัวที่จะเกิดขึ้นที่ค่อนข้างที่จะน้อย ซึ่งก็อาจจะส่งผลทำให้โครงสร้างหลังคากันสาดนั้นเกิดการทรุดตัวลงไปได้ แต่ ข้อดีของกรณีนี้ก็คือ จะไม่ทำให้เกิดการดึงรั้งกันระหว่างส่วนโครงสร้างใหม่และเก่าและเมื่อระยะเวลาได้ผ่านพ้นไปและค่าการทรุดตัวนั้นได้เกิดขึ้นอย่างเต็มที่แล้ว ก็ค่อยมาทำการซ่อมแซมร่องรอยของความเสียหายที่อาจจะพบเจอได้เนื่องจากการทรุดตัวของโครงสร้างหลังคากันสาดก็ได้ ดังนั้นพอพิจารณาดูแล้วข้อนี้ก็น่าที่จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดแล้วละครับ

 

สรุปก็คือกรณีที่ 3 ซึ่งเป็นการแยกส่วนระหว่างโครงสร้างของอาคารเดิมกับส่วนโครงสร้างหลังคากันสาดให้ขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิงดูจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดจากบรรดาทั้ง 3 ตัวเลือกที่มีนั่นเองครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันอาทิตย์

#ถามตอบชวนสนุก

#ตอบปัญหากรณีของการต่อเติมโครงสร้างหลังคากันสาด

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com