ขั้นตอนการออกแบบฐานรากเดี่ยวแบบแผ่

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมอยากที่จะมาขอต่อการแชร์ความรู้ในเรื่องของฐานรากแบบแผ่ให้จบต่อเนื่องจากหลายๆ ครั้งที่ผมได่โพสต์ไปก่อนหน้านี่้นะครับ โดยในวันนี่้ผมอยากที่จะมาสรุปขั้นตอนการออกแบบฐานรากเดี่ยวแบบแผ่ให้แก่เพื่อนๆ ได้ทราบและทำความเข้าใจกันพอสังเขปนะครับ

(1) เลือกความลึกของฐานราก:
โดยความหนาน้อยที่สุดสำหรับฐานรากแผ่ก็คือ 15 CM นับจากเหล็กเสริม และ ความหนาน้อยที่สุดในทางปฏิบัติก็คือ 30 CM โดยที่ระยะหุ้มของคอนกรีตจะต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 8 CM ถ้าหากทำการหล่อคอนกรีตบนดินโดยตรง

(2) คำนวณให้ค่า นน บรรทุกใช้งานที่มากที่สุดนั้นอยู่ภายใต้ขีดจำกัดของดินที่รองรับฐานราก:
โดยเริ่มต้นจากการคำนวณพื้นที่ของฐานรากที่ต้องการ โดยสำหรับกรณีที่ฐานรากรับแรงตามแนวแกนเพียงอย่างเดียวเราก็สามารถคำนวณหาได้โดยการหารค่าน้ำหนักบรรทุกใช้งานทั้งหมดซึ่งเป็นค่าสูงสุดในการออกแบบ (MAXIMUM GOVERNED LOAD) ด้วยหน่วยแรงดันดินที่ยอมให้ (ALLOWABLE BEARING CAPACITY) จากนั้นก็ให้ทำการกำหนดขนาดซึ่งถ้าหากว่าเป็นไปได้ก็ควรใช้ฐานรากเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส

(3) คำนวณให้ค่า นน บรรทุกเพิ่มค่าที่มากที่สุดนั้นอยู่ภายใต้ขีดจำกัดของโครงสร้าง คสล ที่ใช้ทำงานฐานราก:
โดยเราต้องทำการคำนวณโดยการแปลงค่าน้ำหนักบรรทุกใช้งานให้เป็นน้ำหนักบรรทุกแบบประลัยเสียก่อน และ คำนวณแรงดันดินประลัย (ULTIMATE BEARING CAPACITY) โดยสำหรับกรณีที่ฐานรากรับแรงตามแนวแกนเพียงอย่างเดียวเราก็สามารถคำนวณได้โดยการหารค่าน้ำหนักบรรทุกแบบประลัยด้วยพื้นที่ของฐานรากนะครับ

(4) ตรวจสอบค่าความสามารถในการรับแรงเฉือนทะลุ (PUNCHING SHEAR CAPACITY) ของคอนกรีต:
โดยต้องทำการคำนึงค่าแรงเฉือนประเภทนี้ ณ ตำแหน่งหน้าตัดวิกฤติสำหรับกรณีแรงเฉือนแบบทะลุ ถ้าหากว่าความหนาของฐานรากไม่เพียงพอก็ให้เพิ่มความหนาของฐานรากจนกว่าที่ฐานรากจะมีความต้านทานต่อแรงกระทำในลักษณะดังกล่าวได้มากเพียงพอ

(5) ตรวจสอบค่าความสามารถในการรับแรงเฉือนแบบคาน (BEAM SHEAR CAPACITY) ของคอนกรีต:
โดยต้องทำการคำนึงค่าแรงเฉือนประเภทนี้ ณ ตำแหน่งหน้าตัดวิกฤติสำหรับกรณีแรงเฉือนแบบคาน โดยเรารจะต้องตรวจสอบแรงกระทำนี้ในแต่ละทิศทาง และ ถ้าหากว่าความหนาของฐานรากยังไม่เพียงพออีก ก็ให้เพิ่มความหนาของฐานรากจนกว่าที่ฐานรากจะมีความต้านทานต่อแรงกระทำในลักษณะดังกล่าวได้มากเพียงพอเหมือนในกรณีของการคำนวณในข้อที่ (4)

(6) คำนวณพื้นที่เหล็กรับแรงดัด:
โดยเราจะต้องทำการคำนวณหาพื้นที่หน้าตัดของเหล็กที่หน้าตัดต้องการในแต่ละทิศทาง โดยจะต้องทำการพิจารณาค่าแรงดัด ณ ตำแหน่งหน้าตัดที่มีความวิกฤติสำหรับกรณีแรงดัด

(7) คำนวณและตรวจสอบค่ากำลังแบกทานจากพื้นที่หน้าตัดคอนกรีตของเสาที่ถ่ายลงไปที่ฐานรากว่าเพียงพอหรือไม่:
ถ้าหากว่าพื้นที่หน้าตัดของคอนกรีตที่ทำการคำนวณนั้นเกิดไม่เพียงพอ ก็จำเป็นจะต้องใช้เหล็กเสริมเพื่อช่วยในการถ่ายน้ำหนักที่เกิดขึ้นด้วย

(8) ตรวจสอบการใช้งานความยาวของเหล็กเสริมในฐานราก:
โดยเราจะต้องทำการตรวจสอบว่าความยาวของการยึดรั้งระหว่างหน้าตัดวิกฤติการดัด กับ ปลายของเหล็กเสริมว่าระยะนี้เพียงพอหรือไม่ หากไม่เพียงพอ ก็อาจจะต้องเลือกวิธีในการลดระยะนี้ให้มีค่าที่น้อยลง เช่น ลดขนาดหน้าตัดของเหล็กเสริมให้มีขนาดที่เล็กลง เป็นต้น หรือ อาจจะต้องเปลี่ยนวิธีกำหนดการทำงาน ณ ปลายของเหล็กเสริม เช่น จากเดิมที่อาจจะออกแบบเป็นการทำงานแบบปล่อยปลายให้เป็นแบบอิสระ ก็อาจจะต้องทำการเปลี่ยนเป็นการงอขอ 90 องศา เป็นต้นครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com