คานแบบทางเดียวหรือ ONE WAY SLAB ON BEAM

แผ่นพื้นวางบนคานแบบทางเดียวหรือ ONE WAY SLAB ON BEAM

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
อย่างที่ผมได้แจ้งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าหลังจากที่ผมได้แชร์ความรู้ในเรื่องหลักการหลักๆ ของเรื่อง แผ่นพื้นวางบนคานแบบทางเดียวหรือ ONE WAY SLAB ON BEAM และ แผ่นพื้นวางบนคานแบบสองทางหรือ TWO WAY SLAB ON BEAM ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งต่อไปผมก็จะนำเอาเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องของแผ่นพื้นนี้มาเล่าสู่กันให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบกัน ดังนั้นในวันนี้ผมจะพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกันถึงเหล็กเสริมพิเศษชนิดหนึ่งที่พวกเรามักจะหลงลืมใส่กันในแผ่นพื้นสองทางอยู่เสมอเลยนั่นก็คือ เหล็กเสริมพิเศษที่มุมด้านนอกสุดของแผ่นพื้นสองทาง นั่นเองนะครับ


เนื่องจากในกรณีของแผ่นพื้นสองทางนั้นเรามักจะพบการเกิดโมเมนต์บิดขึ้นที่บริเวณมุมนอกสุดของแผ่นพื้น หรือ EXTERIOR CORNER อยู่เสมอ ซึ่งหากค่าโมเมนต์บิดนี้มีค่ามากจนเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดการแตกร้าวใต้พื้นตามแนวเส้นทแยงมุมที่ลากมาจากมุมนอกและบนแผ่นพื้นตามแนวตั้งฉากกับรอยร้าวใต้แผ่นพื้นได้ โดยที่ปริมาณของเจ้าเหล็กเสริมพิเศษนี้จะต้องมีปริมาณที่เท่ากันหรือมากกว่าปริมาณของเหล็กเสริมที่แผ่นพื้นนั้นๆ ต้องการสำหรับใช้ในการต้านทานโมเมนต์ดัดแบบบวกมากที่สุดที่กึ่งกลางของช่วงในแผ่นพื้นนั้นๆ นะครับ
ด้วยเหตุนี้เองเราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการเสริมเหล็กเสริมพิเศษที่มุมนอกสุดทั้งที่บริเวณผิวด้านบนและผิวด้านล่างโดยจะมีระยะออกไปจากมุมในแต่ละทิศทางเป็นระยะทางหนึ่งในห้าของความยาวทางด้านยาวของแผ่นพื้น โดยที่เหล็กเสริมด้านบนนั้นจะถูกวางให้ขนานไปกับเส้นทแยงมุมจากด้านมุมนอกสุดของแผ่นพื้น ส่วนเหล็กล่างก็จะถูกวางให้ตั้งฉากกันกับเส้นทแยงมุมของแผ่นพื้น ซึ่งสามารถดูได้จากรูปบนซึ่งเป็นรูปที่แสดงเหล็กเสริมพิเศษที่มุมด้านนอกสุดของแผ่นพื้นสองทางกรณีที่ 1 นะครับ
ทั้งนี้หลายๆ ครั้งการทำตามรายละเอียดที่ได้กำหนดเอาไว้ในกรณีที่ 1 ก็อาจจะพบว่าไม่ค่อยที่จะสะดวกในการทำงานก่อสร้างมากนัก หลายๆ ครั้งเราจึงมักจะเลือกทำการเสริมเหล็กเสริมพิเศษนี้ในแนวที่ขนานกันกับด้านสั้นและด้านยาวทั้งในบริเวณผิวด้านบนและด้านล่างของแผ่นพื้นเลยก็ได้ ซึ่งสามารถดูได้จากรูปบนซึ่งเป็นรูปที่แสดงเหล็กเสริมพิเศษที่มุมด้านนอกสุดของแผ่นพื้นสองทางกรณีที่ 2 นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพุธ
#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน
#ความรู้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องเหล็กเสริมพิเศษที่มุมนอกสุดของแผ่นพื้นสองทางเพื่อใช้ต้านทานการแตกร้าวอันเนื่องมาจากโมเมนต์บิด

ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม

ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามมาตรฐาน ISO 45001:2018
2) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ 
4) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
5) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
7) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
8) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
9) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
10) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
11) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสีย
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
 082-790-1447
 082-790-1448
 082-790-1449
 081-634-6586